เรื่องค่าลดหย่อนภาษี สารพันปัญหาเรื่องค่าลดหย่อน วันนี้จะเริ่มด้วยเรื่อง การหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมที่ทำตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป กับหลายคนที่สงสัยและถามกันมาว่า การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายไปก่อนปี 2552 กับที่ได้จ่ายไปตั้งแต่ปี 2552 หรือปี 2553 แตกต่างกันอย่างไร และในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 สำหรับปีภาษี 2553 หากบริษัทประกันชีวิตไม่ได้แยกจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปว่าเป็นเบี้ยประกัน ชีวิตเท่าใด เป็นเบี้ยประกันเพิ่มเติมอย่างอื่นเท่าใด จะต้องดำเนินการอย่างไร

การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ประกอบกับประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172) บอกไว้ว่า ให้ยกเว้นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้เฉพาะกรณีที่กรมธรรม์ ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และเป็นการประกันชีวิตที่ได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรเท่านั้น กรณีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตสำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติม หากเป็กรมธรรม์ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป ไม่สามารถนำไปใช้คำนวณในการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สารพันปัญหา กับ ค่าลดหย่อนภาษี Tax by definition

ทั้งนี้การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประกาศฉบับดังกล่าว ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากผู้รับประกันภัยที่พิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต และกรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติม หลักฐาน ต้องระบุจำนวนเบี้ยประกันชีวิต และเบี้ยประกันภัยที่จ่ายสำหรับความคุ้มครองอื่นเพิ่มเติมแยกออกจากกัน หากผู้รับประกันภัยไม่ได้แยกจำนวนเงิน ให้นำหลักฐานดังกล่าวไปให้ผู้รับประกันภัยแยกจำนวนเงินให้ชัดเจน ไม่อย่างนั้นจะนำมาเป็นหลักฐานในการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ได้ เนื่องจากไม่เป็นตามข้อ 4 ของประกาศฉบับดังกล่าว

เบี้ยประกันชีวิต

ลักษณะการประกันสุขภาพบิดา-มารดา

การประกันสุขภาพบิดา-มารดา ต้องมีลักษณะอย่างไร จึงจะได้รับการยกเว้นเงินได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว การประกันสุขภาพบิดา-มารดา ต้องมีลักษณะตามข้อ 2 ของประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 162) ดังนี้

  • – การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครอง เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชย การทุพพลภาพ และการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
  • – การประกันภัย อุบัติเหตุเฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
  • – การประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)
  • – การประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)

หลักฐานการยกเว้นเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดากับการใช้สิทธิ์ยกเว้นเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ต้องแสดงหลักฐานอะไรบ้าง ซึ่งส่วนนี้ผู้มีเงินได้ต้องมีใบเสร็จรับเงิน หรือหนังสือรับรองจากบริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัย โดยต้องมีข้อความอย่างน้อยตามข้อ 3 ของประกาศอธิบ ดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 162) คือ

  • – ชื่อนามสกุล และเลขประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกันภัย
  • – ชื่อนามสกุลของผู้จ่ายเบี้ยประกันภัย (ทุกคน)
  • – ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้เอาประกันภัย
  • – จำนวนเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันสุขภาพ ตามข้อ 2 5.จำนวนเงินที่มีสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้

เงินสะสมกองทุน เงินสะสมสมทบ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสะสมทรัพย์หักลดหย่อนไม่ได้จริงหรือ คำถามที่ว่า มหาวิทยาลัยออกระเบียบว่าด้วยกองทุนเงินสะสมสมทบสำหรับพนักงานและลูกจ้าง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสะสมทรัพย์ สร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยมหาวิทยาลัยจะหักเงินเดือนของพนักงานทุกครั้งที่จ่ายเพื่อนำส่งเข้ากองทุน พนักงานสามารถนำเงินสะสมดังกล่าวไปหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี ได้หรือไม่

ปกติแล้วพนักงานไม่มีสิทธินำเงินสะสมที่ถูกหักไว้ ไปลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 47 (1) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร นะครับ เนื่องจากเงินสะสมตามระเบียบของมหาวิทยาลัยไม่เข้าลักษณะเป็นกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เงินได้จากหน่วยลงทุน RMF และ LTF

ภรรยามีเงินได้ประเภทเงินเดือนและเงิน ปันผล สามีมีเงินเดือนอย่างเดียว การซื้อหน่วยลงทุนของกองทุน RMF และ LTF ของภรรยา จะซื้อได้อัตราร้อยละ 15 จากเงินได้เงินเดือนรวมกับเงินปันผลหรือไม่ เนื่องจากเงินปันผลต้องถือเป็นเงินได้ของสามี สำหรับการซื้อหน่วยลงทุนของกองทุน RMF และ LTF เป็นสิทธิของผู้มีเงินได้นะครับ เมื่อภรรยาเป็นผู้มีเงินได้ แม้จะยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ในนามของสามี สิทธิดังกล่าวก็ยังเป็นของภรรยาอยู่เช่นเดิม ภรรยาสามารถซื้อได้ตามสัดส่วนของเงินได้ของตนเอง

แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้า ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์